ผู้ขับขี่ในเมืองไทยมีความหวังว่าจะได้ขับขี่จักรยานยนต์ที่มีเครื่องยนต์ที่ทำงานเต็มประสิทธิภาพ ขับขี่สบาย…แต่น่าเสียดายที่ผู้ขับขี่แต่ละคนมีรูปร่างและน้ำหนักตัวแตกต่างกัน ระบบกันสะเทือนหลังหรือโช๊คอัพหลังจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการรองรับสรีระของผู้ขับขี่ และช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการขับขี่ที่ดีขึ้น บ่อยครั้งที่เรามักจะได้ยินปัญหาเรื่องแรงสั่นสะเทือนจากตัวรถส่งมาที่ผู้ขับขี่ การควบคุมรถ การเข้าโค้ง และการยุบตัวกระแทกของโช๊คอัพในรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ๆ
มีผู้ขับขี่จำนวนไม่น้อยเชื่อว่ารถจักรยานยนต์ถูกสร้างมาได้เหมาะกับตัวเองแล้ว ในความเป็นจริง รถจักรยานยนต์เป็นสินค้าที่ถูกผลิตออกมาครั้งละมากๆ และไม่ได้มีการปรับแต่งในส่วนของสปริง ไนโตรเจน แท็งก์ กำลังอัดและการตอบสนองในการขับขี่ ในหลายกรณีที่มีการตั้งค่าความอ่อนแข็งของสปริงโช๊คหรือ pre load ผิด ซึ่งโช๊ครถมอเตอร์ไซค์ในเมืองไทยส่วนใหญ่แล้วถูกซื้อมาสำหรับใช้แล้วทิ้งไม่สามารถซ่อมใหม่ได้
รถจักรยานยนต์จำนวนไม่น้อยที่ยังคงถูกผลิตด้วยเทคโนโลยีดั้งเดิมมาจากปี พ.ศ.2513 (1970) และยังเป็นโช๊คอัพแบบไม่มีแรงดันคอยล์สปริง เนื่องจากประหยัดต้นทุนการผลิตมากกว่า ทำให้สามารถทำราคาแข่งขันในตลาดไทยได้นั่นเอง